วิธีเช็คตารางรถไฟ และวิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์ จองง่าย เที่ยวง่าย ในราคาประหยัด

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
วิธีเช็คตารางรถไฟ และวิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์ จองง่าย เที่ยวง่าย ในราคาประหยัด

การเดินทางไปเที่ยวในปัจจุบันมีช่องทางการเดินทาง ที่ให้เราเลือกได้หลากหลายมากขึ้นนะคะ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางถูกลง เพราะการเดินทางไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในเครื่องบินเท่านั้น เดี๋ยวนี้นักท่องเที่ยวหันกลับมาใช้การเดินทางด้วยรถไฟกันมากขึ้น พร้อมทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยเองก็พัฒนาคุณภาพของห้องโดยสาร ที่นั่ง และการบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่มีโอกาสได้ใช้บริการ เพราะจองไม่เป็น ไม่รู้จะเลือกยังไง นั่งแบบไหน และไม่ทราบว่าการเช็คตารางรถไฟออนไลน์ต้องทำยังไง วันนี้ Vacation On จะมาไขข้อข้องใจให้กับทุกคนค่ะ

ทำความรู้จักกับรถไฟไทย

กิจการรถไฟได้เริ่มต้นให้บริการประชาชน ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2439 จนกระทั่งสิ้น รัชสมัยของพระองค์ในปี พ.ศ.2453  ต่อมาการรถไฟไทยได้มีการพัฒนาระบบต่าง รวมถึงการบริการมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในปัจจุบันการรถไฟไทยเปิดให้บริการจอง และซื้อตั๋วรถไฟออนไลน์ด้วยระบบ E – ticket บนหน้าเว็ปไซตฺการรถไฟแห่งประเทศไทย www.railway.co.th หรือ www.thairailwayticket.com เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทยที่หันกลับมาให้ความสนใจในการเดินทางโดยรถไฟมากขึ้น นอกจากระบบการจองตั๋ว และการซื้อตั๋วออนไลน์ได้แล้ว ยังสามารถเช็คตารางการเดินรถของการรถไฟได้อีกด้วย ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการเช็คตารางรถไฟ เราควรจะรู้จักประเภทของรถไฟไทยที่มีให้บริการทั้งหมดก่อนนะคะ จะได้เลือกขึ้นได้ถูกตามความต้องการของเรา

ประเภทรถไฟ

ขบวนรถด่วนพิเศษ (Special Express) ปัจจุบันมีให้บริการทั้งหมด 10 ขบวน เป็นขบวนที่บริการเฉพาะการเดินทางระยะไกล จอดพักเฉพาะสถานีที่สำคัญเท่านั้น ชนิดของรถที่ให้บริการคือ

  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ (กซข.ป.)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ (กซม.ป.)

ขบวนรถด่วน (Express) มีให้บริการทั้งหมด 9 ขบวน เป็นขบวนรถที่เดินระยะทางไกล หยุดเฉพาะสถานีที่สำคัญๆ เท่านั้น
แต่มีการให้บริการของชนิดรถพ่วง มากกว่าขบวนรถด่วนพิเศษ และชนิดของขบวนรถที่มีให้บริการคือ

  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 1 ปรับอากาศ (บนอ.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บชท.ป.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 – 3 (บสส.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.ป.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ (กซม.ป.)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)

ขบวนรถเร็ว (Rapid) มีให้บริการทั้งหมด 17 ขบวน เป็นขบวนรถที่เดินระยะทางไกล แต่จะหยุดรับ – ส่ง ผู้โดยสาร ในจำนวนสถานีที่มากกว่าขบวนรถด่วน ชนิดของขบวนรถที่มีให้บริการคือ

  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บนท.ป.)
  • รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (บชท.ป.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 – 3 (บสส.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.ป.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)

ขบวนรถธรรมดา (Ordinary) มีให้บริการทั้งหมด 27 ขบวน เป็นขบวนรถที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารเดินทาง ไปยังส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย หยุดทุกๆ สถานีใช้สำหรับการเดินทางในระยะสั้น ชนิดของขบวนที่ให้บริการคือ

  • รถโบกี้ชั้นที่ 2 – 3 (บสส.)
  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)

ขบวนรถชานเมือง (Bangkok Commuter) เป็นขบวนรถที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ระยะทางไม่เกิน 150 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุกสถานี และจอดทุกป้ายหยุดรถ เส้นทางที่เปิดให้บริการคือ

  • สายเหนือ กรุงเทพ – ลพบุรี ระยะทาง 133 กิโลเมตร
  • สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพ – ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 125 กิโลเมตร
  • สายตะวันออก กรุงเทพ – ปราจีนบุรี ระยะทาง 122 กิโลเมตร
  • สายใต้ กรุงเทพ – ราชบุรี ระยะทาง 117 กิโลเมตร
  • สายใต้ กรุงเทพ – สุพรรณบุรี ระยะทาง 158 กิโลเมตร (ขบวนรถพิเศษชานเมือง)

ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter) มีให้บริการทั้งหมด 24 ขบวน เป็นขบวนรถที่ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ที่ต้องการเดินทางระหว่างจังหวัด จะหยุดรถทุกสถานี และป้ายหยุดรถ ชนิดของขบวนรถที่ให้บริการคือ

  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ (กซข.)

ขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion) เป็นขบวนรถที่ให้บริการนักท่องเที่ยว ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จะหยุดรับ – ส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีที่มีแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น ชนิดของขบวนรถที่ให้บริการคือ

  • รถโบกี้ชั้นที่ 3 ( บชส.)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ ( กซข.ป.)
  • รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ ( กซม.ป)
  • รถกำลังดีเซลรางมีห้องขับ ( กซข.)

ให้บริการในเส้นทาง

  • กรุงเทพมหานคร – พระนครศรีอยุธยา
  • กรุงเทพมหานคร – น้ำตก
  • กรุงเทพมหานคร – สวนสนประดิพัทธ์
  • กรุงเทพมหานคร – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

วิธีเช็คตารางรถไฟ

หลังจากที่เรารู้จักชนิดของขบวนรถไฟกันไปแล้ว เรามารู้วิธีการเช็คตารางการเดินรถไฟแบบออนไลน์กันนะคะ การเช็คขบวนรถไฟมีวิธีการดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็ป procurement.railway.co.th/checktime/checktime.asp

     

    เช็คตารางรถไฟออนไลน์
    เช็คตารางรถไฟออนไลน์
  2. เลือกสถานีต้นทาง และสถานีปลายทาง ที่ต้องการแล้วกดตรวจสอบด้านขวา

    เช็คตารางรถไฟออนไลน์
    เช็คตารางรถไฟออนไลน์
  3. ทำการกดเลือกขบวนรถที่เราต้องการเช็คเวลาการวิ่ง ในส่วนตรงนี้ยังสามารถตรวจสอบราคาค่าโดยสาร และติดตามขบวนรถได้อีกด้วย

    เช็คตารางรถไฟออนไลน์
    เช็คตารางรถไฟออนไลน์
    เช็คตารางรถไฟออนไลน์
    เช็คตารางรถไฟออนไลน์

วิธีจองตั๋วรถไฟ

วิธีการจองตั๋วรถไฟในปัจจุบันทำง่ายขึ้นมาก เพราะการรถไฟได้จัดทำระบบการจองตั๋วรถไฟแบบออนไลน์ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บริการของทุกคนที่เพิ่มมากขึ้นโดยมีขั้นตอนการจองง่ายๆ ดังนี้

ขั้นตอนในการจองตั๋วรถไฟออนไลน์

  1. ตรวจสอบขบวนรถไฟที่ต้องการเดินทาง

    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
  2. เลือกขบวนรถ

    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
  3. เลือกตู้
  4. เลือกที่นั่งสามารถทำได้ 2 แบบคือ ระบุที่นั่งด้วยตัวเอง และให้ระบบสุ่มที่นั่งให้ หลังจากนั้นใส่รายละเอียดข้อมูลผู้โดยสาร

    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
  5. ชำระเงิน
    – เลือกช่องทางการชำระเงิน
    – ตรวจสอบข้อมูลการเดินทางทั้งหมดว่าถูกต้องหรือไม่ และยืนยันการชำระเงิน
    – ชำระเงินผ่าน BBL Payment Gatewat เมื่อขั้นตอนการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ระบบจะกลับมาที่หน้าเว็บ
    พร้อมแสดงข้อความว่าการสำรองที่นั่งเรียบร้อย/ Booking Success

    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
  6. พิมพ์ตั๋วโดยสาร หลังจากที่เราทำการจองตั๋วสำเร็จแล้วระบบจะทำการ POP Up ไฟล์ PDF ให้เราที่หน้าจอ เมื่อเปิดเข้าไปจะเป็นข้อมูลการเดินทางที่เราจอง และข้อมูลผู้โดยสาร ให้เราทำการพิมพ์ตั๋วออกมาเก็บไว้ได้เลยค่ะ และระบบจะทำการส่งไฟล์ PDF ให้เราทางอีเมลล์อีกครั้งด้วย

    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์
    วิธีจองตั๋วรถไฟออนไลน์

เงื่อนไขการจองตั๋วรถไฟออนไลน์

การจะทำการจองตั๋วออนไลน์ได้นั้น ทางการรถไฟได้กำหนดเงื่อนไขการให้บริการไว้ดังนี้ค่ะ

  1. ต้องสมัครสมาชิกที่ระบบ e-TSRT ก่อนเพื่อใช้ในการสำรองที่นั่ง โดยการเข้าที่เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com/eTSRT/ เลือกเมนูสมัครสมาชิก
  2. ระยะเวลาการจำหน่ายตั๋วและสำรองที่นั่งล่วงหน้าไม่เกิน 60 วัน และสามารถสำรองที่นั่งได้ก่อนขบวนรถออก 2 ชั่วโฒง
  3. ให้บริการเฉพาะขบวนรถเชิงพาณิชย์ใน 3 เส้นทาง (ไม่รวมขบวนรถนำเที่ยว) ดังนี้ – เส้นทางสายเหนือ – เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ – เส้นทางสายใต้
  4. ให้บริการเฉพาะตั๋วผู้ใหญ่ (เต็มราคาที่ไม่ใช้สิทธิ์ลดราคาใดๆ) และตั๋วเด็ก (มีสิทธิ์ลดราคา 50% และมีส่วนสูงตั้งแต่ 100 เซนติเมตร ขึ้นไป และไม่เกิน 150 เซนติเมตร เท่านั้น)
  5. การสำรองที่นั่งทางอินเทอร์เน็ต สามารถสำรองที่นั่งได้ไม่เกิน 4 ที่นั่งต่อการทำรายการ 1 ครั้ง
  6. สามารถเลือกที่นั่งได้เอง หรือให้ระบบ e-TSRT ทำการเลือกที่นั่งให้โดยอัตโนมัติ
  7. การชำระเงินค่าตั๋วจะรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตระบบ Visa,Master Card, JCB และบัตรเดบิตของธนาคารกรุงเทพ เท่านั้น
  8. การจองและซื้อตั๋วผ่านระบบ e-TSRT จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มดังนี้ ชั้น 1 ค่าบริการ 40 บาทต่อ 1 ที่นั่ง ชั้น 2 ค่าบริการ 30 บาทต่อ 1 ที่นั่ง และชั้น 3 ค่าบริการ 20 บาทต่อ 1 ที่นั่ง
  9. ต้องพิมพ์ตั๋วที่ได้จากระบบเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันในวันเดินทาง และไม่สามารถแสดงตั๋วผ่านสมาร์ทโฟนได้
  10. การเลื่อนชั้น/เปลี่ยนแปลงตั๋ว ต้องติดต่อขอเลื่อนชั้น/เปลี่ยนแปลงตั๋ว ได้เฉพาะที่สถานีรถไฟเท่านั้น

การเดินทางด้วยรถไฟจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยวิธีการเช็คตารางรถไฟ และการจองตั๋วรถไฟแบบออนไลน์ที่ Vacation On นำเอามาฝากกันวันนี้นะคะ น่าจะเป็นช่องทางการเดินทางอีกช่องทางนึงที่หลายๆคนสนใจ ไปเปิดประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวในแบบใหม่ ด้วยการเดินทางที่มีเสน่ห์ด้วยรถไฟกันเยอะๆนะคะ

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email
Khingyea

Khingyea

ขิงเย่ เที่ยวด้วยตัวเองคือประสบการณ์ และการหลงทางคือของฝากที่ทรงคุณค่าจากการท่องเที่ยว
seopdem20193010470947034253.png

บทความล่าสุด

seopdem20193010470947034253.png
ทิปท่องเที่ยว

เลือกทำเลที่พัก เลือกตำแหน่งโรงแรมยังไงดี เมื่อต้องเที่ยวด้วยตัวเองในต่างประเทศ

โรงแรมที่พักเป็นเรื่องที่หลายๆ คนมีความกังวล และสับสนลังเลในการเลือก เพราะโรงแรมที่ถูกใจ

ทิปท่องเที่ยว

คำถามยอดฮิต ตม. ถามบ่อย 8 ประเภทของคำถามภาษาอังกฤษ พร้อมคำตอบแบบสั้น

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนเดินทางไปต่างประเทศ นอกจากเอกสารที่สำคัญต่างๆ แล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือการฝึกตอบคำถามภาษาอังกฤษของ

ขนาดกระเป๋าเดินทาง มีกี่ขนาด เลือกยังไงให้ มีของใช้ครบ
ทิปท่องเที่ยว

ขนาดกระเป๋าเดินทาง มีกี่ขนาด เลือกยังไงให้ มีของใช้ครบ

กระเป๋าเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับนักเดินทาง หรือนักท่องเที่ยว และขนาดกระเป๋าเดินทาง ก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

ทิปท่องเที่ยว

สิทธิผู้โดยสาร รู้ไว้ไม่ถูกเอาเปรียบ หากเครื่องบินล่าช้า ดีเลย์ จะได้สิทธิชดเชยอะไรบ้าง

การเดินทางโดยเครื่องบินในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก ด้วยราคาโดยสารที่สามารถเข้าถึงได้และระยะเวลาในการเดินทางที่เร็ว หลายๆ คนอาจเคยประสบปัญหาเที่ยวบินล่าช้ากว่ากำหนดกันมาบ้าง

เลือกที่นั่งบนเครื่องบิน เลือกแบบไหนดี ให้ได้ที่นั่งถูกใจ นั่งสบาย ในราคาเท่ากัน
ทิปท่องเที่ยว

เลือกที่นั่งบนเครื่องบิน เลือกแบบไหนดี ให้ได้ที่นั่งถูกใจ นั่งสบาย ในราคาเท่ากัน

การเลือกที่นั่งบนเครื่องเป็นเรื่องที่หลายๆ คนมองข้ามความสำคัญไป อาจเพราะคิดว่าใช้เวลาในการบินไม่นาน หรือคิดว่าการนั่งบนเครื่องตรงไหนก็เหมือนกัน

ทิปท่องเที่ยว

ขึ้นเครื่องบินเที่ยวต่างประเทศ ควรไปถึงตอนเช้า หรือไปถึงตอนเย็นดี

ถ้าพูดถึงเรื่องเที่ยว การได้ตั๋วราคาถูกคือสวรรค์ของนักเดินทาง แต่สิ่งที่ต้องคิดมากกว่าการหาราคาตั๋วถูกคือ เวลาในการเดินทาง